DeeZan ชุมชนคนรักดี(ซ่าน)
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


แบ่งปัน สิ่งดีๆ สาระ ความรู้ สารพัน บันเทิง (ปี 8)
 
บ้านGalleryLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 Biological Clock ตารางนาฬิกาชีวิต

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
ผู้มาเยือน
ผู้มาเยือน




Biological Clock ตารางนาฬิกาชีวิต Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Biological Clock ตารางนาฬิกาชีวิต   Biological Clock ตารางนาฬิกาชีวิต Icon_minitime6/4/2012, 10:50

Biological Clock ตารางนาฬิกาชีวิต

Biological Clock ตารางนาฬิกาชีวิต Bodyclocky

Recommendation Clock
ดื่มน้ำก่อนนอน ถุงน้ำดี 23:00-01:00 น.
ห้ามอาบน้ำเย็น ทำร่างกายให้อบอุ่น ระบบความร้อนของร่างกาย 21:00-23:00 น.
ทำสมาธิ หรือสวดมนต์ เยื่อหุ้มหัวใจ 19:00-21:00 น.
ทำให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไต 17:00-19:00 น.
ทำให้เหงื่อออก ( ออกกำลังกาย / อบตัว ) กระเพาะปัสสาวะ 15:00-17:00 น.
งดกินอาหารทุกประเภท ลำไส้เล็ก 13:00-15:00 น.
หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง หัวใจ 11:00-13:00 น.
พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ ม้าม 09:00-11:00 น.
กินอาหารเช้า กระเพาะอาหาร 07:00-09:00 น.
ขับถ่ายอุจจาระ สำไส้ใหญ่ 05:00-07:00 น.
ตื่นนอน สูดอากาศบริสุทธิ์ ปอด 03:00-05:00 น.
นอนหลับพักผ่อนให้หลับสนิท ตับ 01:00-03:00 น.

ข้อควรปฏิบัติ ระบบที่เกี่ยวข้อง ช่วงเวลา
01:00-03:00 น . เป็นช่วงเวลาของตับ
ควรนอนหลับพักผ่อน ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่ง Meratonin เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่ง Meratonin ประจำแล้ว ยังหลั่ง Endrophin ออกมาด้วยจึงไม่ควรกินอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ อีกทั้งตับยังมีหน้าที่รองช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน และเล็บจะไม่สวย

03:00-05:00 น . เป็นช่วงเวลาของปอด
จึงควรตื่นนอน ลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำ ปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว
คนที่มีปัญหาเรื่องปอดจะไม่ ค่อยตื่นเวลานี้ คนตื่นได้ตีสาม – ตีห้า แปลว่าปอดแข็งแรง มีโอกาสเป็นผู้นำคน เพราะลมมาจากปอด พูดมีพลังอำนาจ คนตื่นสายปอดจะไม่แข็งแรง

05:00-07:00 น . เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่
ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า เมื่อไม่ถ่ายลำไส้ใหญ่จะรวน โดยสังเกตอาการรวนจากการมีอาการปวดหัวไหล่ กล้ามเนื้อเพดานจะหย่อนแล้วทำให้นอนกรนในที่สุด
คนที่ ขับถ่ายยาก ต้องทานอาหารเช้า
ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธีกดจุด ที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่น 2 แก้ว ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำมะนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย หรือบริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือท้าวเข่า แขม่วท้องจนเหมือนว่าหน้าท้องไปติดสันหลัง

07:00-09:00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารจะทำงานเต็มที่ ช่วงนี้ ถ้าเราไม่กินอาหาร อุจจาระจะถูกดูดกลับมาที่กระเพาะ กลิ่นตัวจะเหม็น ถ้ากินอาหารเช้าในช่วงเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย

09:00-11:00 น . เป็นช่วงเวลาของม้าม
ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศีรษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ

ม้ามโต ม้ามจะไปเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง

ม้าม ชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน ทำให้อ้วนง่าย

ผู้ ที่มักนอนหลับในช่วงเวลานี้ ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามจังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรือพูดเก่งๆ ม้ามจะชื้น ควรพูดน้อยกินน้อย ในเวลานี้ ม้ามจึงแข็งแรง

11:00-13:00 น . เป็นช่วงเวลาของหัวใจ
หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรืออาการตกใจให้ได้
คนที่ มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจ ดูได้จากมีอาการปวดไหล่ ไม่ได้แสดงอาการที่หน้าอกอย่างที่เข้าใจกัน
กล้วย ส้ม มะเขือ เตย รากบัว บำรุงหัวใจ ( ถ้าเป็น เม็ดบัว จะบำรุงตับ และไต )

13:00-15:00 น . เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก
ควรงดการกินอาหารทุกประเภทเพื่อ เปิดโอกาสให้ลำไส้เล็กทำงานในการดูดซึ่มสารอาหารที่เป็นน้ำทุกชนิด เช่น vitamin C, B โปรตีนเพื่อสร้างกรดอมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สำหรับผู้หญิง ถ้ากรดอมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ( โอกาสตั้งท้องจะลดลง )
ปัจจุบัน การทานอาหารนอกบ้านและใช้น้ำมันที่ไม่เป็นธรรมชาติล้วนๆ ( เช่น น้ำมันมะกอก ) ทำให้ลำไส้เล็กมีไขมันเกาะ มีผลทำให้ไตเสื่อม กระดูกเสื่อม และก็สมองเสื่อม ตาเป็นต้อง่าย เป็นไซนัสหรือภูมิแพ้ง่าย จึงควร detox ลำไส้เล็กตามธรรมชาติ ดังนี้
วิธี Detox ลำไส้เล็กตามธรรมชาติ
สูตร โยเกิร์ต 1/2 + นมสด 1 + น้ำผึ้ง 1 + มะนาว 1
( โยเกิร์ต ½ ถ้วย , นมสด 1 กล่อง , น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ , มะนาว 1 ลูก )
สูตรนี้ถ้า ทานตอนเช้าจะช่วยลดความอ้วน แต่ถ้าทานช่วงบ่าย ( หลังบ่ายสามโมง ) จะเพิ่มความอ้วน
**** เห็ดหูหนูดำ : ช่วยดูแลไต บำรุงไต
**** เห็ดหูหนูขาว : บำรุงปอด
**** เห็ดหอม + เห็ดหูหนูขาว + เห็ดหูหนูดำ : ล้างพิษในตับได้
**** กระชาย : เป็นตัวบำรุงไตที่ดีที่สุด

15:00-17:00 น . เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับ ระบบความจำ ไทรอยด์ และระบบเพศทั้งหมด
ช่วงเวลานี้จึงควร ทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัว กระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง

17:00-19:00 น . เป็นช่วงเวลาของไต
จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนหลับแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก

ไต ซ้าย จะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป เป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน

ไต ขวา จะคุมสมองด้านซ้าย ซึ่งควบคุมด้านความทรงจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว

ผู้ที่เป็น โรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ

****** การดูแล : ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นให้อาบน้ำอุ่น
19:00-21:00 น . เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ
ช่วงเวลานี้ควรสวดมนต์ ทำสมาธิ
ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือหัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าชุดสีดำ เทา และแช่เท้าในน้ำอุ่นเป็นประจำ

21:00-23:00 น . เป็นช่วงที่ต้องทำร่างกายให้อบอุ่น
ห้าม !!!!! อาบน้ำเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย อย่าไปตาก – ลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ ควรหาความอบอุ่นให้กับร่างกายตัวเอง

23:00-01:00 น . เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี
อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำ จะมาดึงน้ำจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจาม ( เพราะถุงน้ำดีโยงไปถึงปอด ) จะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ
ทาง แก้ไข คือ อย่าใส่ชุดนอนที่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน เพราะชุดนอนเหล่านี้จะดูดน้ำในร่างกาย ความสวมชุดผ้าฝ้ายดีที่สุด ไม่ควรนอนบนที่นอนสูงๆเพราะจะทำให้เสียน้ำในร่างกาย ดังนั้นควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน หรือก่อนเวลา 23:00 น .
มอบ สิ่งดีๆแก่ตัวคุณเอง และคนที่คุณรัก ……… ..
กินกล้วยวันละ 1-2 ผล จะช่วยลดความเครียด ลดความดัน เคลือบกระเพาะ และโรคหัวใจ
การ หัวเราะ 1 นาที = การออกกำลังกาย 1 ชั่วโมง

ref : https://www.facebook.com/note.php?note_id=208193709227083

#2 —————————————–
เคยสงสัยไม๊ว่า เหตุใดระบบการทำงานในร่างกายคนเราถึงทำงานได้เป็นเวลาคล้ายมีโปรแกรมตั้ง เวลาระบบไว้ ที่ทำเช่นนี้ได้เพราะในร่างกายมีนาฬิกาชีวิตหรือนาฬิกาชีวภาพ (biological clock) ตั้งอยู่ที่ suprachiasmatic nucleus(SCN) ของสมอง ไฮโพธาลามัส ทำหน้าที่บริหารระบบในร่างกายให้ทำงานสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมของธรรมชาติ เพราะสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา ประกอบกับธรรมชาติไม่หยุดนิ่ง, มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากโลกหมุนรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์ ทำให้โลกอยู่ภายใต้อิทธิพลของแสงจากดวงอาทิตย์ เกิดเป็นวงจรของวัน(circadian rhythm) ใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมงต่อการหมุนรอบตัวเองของโลก 1 รอบ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงมืด(กลางคืน) กับช่วงสว่าง(กลางวัน) ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตจะต้องปรับสภาวะร่างกายให้ทำงานสอดคล้องกับวงจรของวันใน ธรรมชาติ มิเช่นนั้นแล้วจะทำให้มีอายุขัยสั้นลง ด้วยเหตุนี้นาฬิกาชีวภาพของคนจึงทำงานเป็นวงจรและใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมงเช่นกัน โดยมี 2 ช่วง คือ ช่วงมืด กับช่วงสว่าง สำหรับช่วงสว่าง แสงจะกระตุ้น SCN โดยอาศัยตัวรับแสง(melanopsin) ซึ่งอยู่ ที่เรตินา(จอตา) กับที่เส้นใยประสาท retinohypothalamic tract ส่วนช่วงมืด(กลางคืน) ต่อมไพเนียลของสมองจะหลั่งเมลาโทนิน(melatonin) มากระตุ้น SCN เมื่อ SCN ถูกกระตุ้นก็จะส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทและฮอร์โมนไปควบคุมการทำงานของอวัยวะ และต่อมต่างๆ เพื่อให้สภาวะร่างกายดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับวงจรของวันในธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ อุณหภูมิของร่างกาย, ความดันเลือด, การเต้นของหัวใจ และวงจรการหลับ-ตื่น เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายมาก โดยชักนำให้เกิดการนอนหลับ ปรับการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ ช่วยชะลอความแก่ และป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง แต่เมลาโทนินจะถูกหลั่งออกมาในช่วงกลาง คืนเท่านั้น เนื่อง จากถูกยับยั้งโดยแสง แม้แสงจะมีความเข้มต่ำเพียง 0.1 ลักซ์(เทียบได้กับแสงในคืนพระจันทร์เต็มดวง) ก็ส่งผลให้ร่างกายหลั่งเมลาโทนินน้อยลงได้
ปัจจัยที่ทำให้นาฬิกาชีวภาพทำงานผิดปกติ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิต(เช่น การนอนไม่เป็นเวลา นอนดึก) ความชรา และโรคบางชนิด เช่น อัลไซเมอร์ มะเร็ง พาร์คินสัน โรคทางจิตเภท(schizophrenia) โรคซึมเศร้า เป็นต้น โดยเซลล์ประสาทใน SCN จะหลั่ง vasopressin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกายและยังส่งผลไปควบคุม สภาวะร่างกาย เช่น อุณหภูมิของร่างกาย การตื่นตัว/ความกระฉับกระเฉง เมื่อ คนเรามีอายุมากขึ้น vasopressin และเมลาโทนินจะถูก หลั่งออกมาน้อยลง ส่งผลให้นาฬิกาชีวภาพทำงานผิดปกติ คนชราจึงมีอาการต่างๆ เช่น นอนไม่ค่อยหลับ ใช้ระยะเวลาให้เริ่มหลับนาน ระยะเวลานอนหลับสั้นลง นอนหลับไม่ลึก และเข้านอนเร็ว ทั้งนี้เป็นเพราะตัวรับแสงและตัวรับสัญญาณอื่นๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลง ส่วนผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียจากการเดินทางเป็นเวลานาน(jet lag) ร่างกายจะต้องปรับการทำงานของนาฬิกาชีวภาพใหม่ ซึ่งอาจใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ จึงเกิดอาการสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก ขณะที่นาฬิกาชีวภาพของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะทำงานช้าลง ทำให้ช่วงเวลาที่อุณหภูมิของร่างกายลดลงต่ำสุดแตกต่างจากคนปกติ คือ จะลดลงในช่วง 9.00 น. ถึงช่วงเย็น แทนที่จะลดลงในช่วง 4.00 – 5.00 น. เหมือนคนปกติ ทำให้ตารางเวลาชีวิตเปลี่ยนไป โดยช่วงกลางคืนจะมีภาวะวิตกเครียดและนอนไม่หลับ จึงลุกขึ้นมาทำกิจกรรมและนอนหลับในช่วงกลางวันหรือช่วงเย็นแทน สำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภท นาฬิกาชีวภาพจะทำงานเร็วผิดปกติ ผู้ป่วยจะนอนหลับไม่สนิทเนื่องจากมีภาวะรบกวนขณะหลับ โดยพบว่า 40-65% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะนอนไม่หลับขั้นรุนแรง คาดว่าเป็นผลมาจากการนอนหลับในช่วงเย็น ทำให้เวลาเข้านอนดึก หลังเวลา 2.00 – 3.00 น. ร่างกายจึงไม่หลั่งหรือหลั่งเมลาโทนินออกมาน้อย ดังนั้นในขณะนอนหลับจึงไม่ควรเปิดไฟทิ้งไว้เพราะมีผลไปยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน และไม่ควรรนอนหลับในช่วงเย็นเพราะจะทำให้ช่วง เวลาเข้านอนต้องเลื่อนออกไป
การแพทย์จีนได้ใช้ทฤษฎี หยิน-หยาง อธิบายความสัมพันธ์ 2 ด้านที่ต่อต้าน/ตรงกันข้ามกัน แต่มีความเกี่ยวเนื่องควบคุมและสัมพันธ์กันตลอดเวลา โดย หยิน หมายถึง เย็น/ร่ม การหยุดนิ่ง กลางคืน ส่วนหยาง หมายถึง ร้อน/สว่าง กลางวัน การเคลื่อนไหว ดังนั้นหยิน-หยางจึงเปรียบได้กับสภาวะธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งกลางวันและกลางคืน และเปรียบได้กับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่ทำงานเชื่อมโยงกันและสอดคล้องกับวงจรของวันโดยแต่ละช่วงเวลาจะ มีอวัยวะบางชนิดหรือบางระบบในร่างกายที่ต้องทำงานหนัก (ภาพที่ 1) แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า อวัยวะอื่นๆ จะหยุดทำงาน อวัยวะทั้งหมดยังคงทำงานเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันตลอดเวลา
ความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะ/ระบบของร่างกายกับช่วงเวลาในวงจรของวัน มีดังนี้
เวลา 3.00 – 5.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด เพื่อให้ระบบหายใจได้ทำงานได้เต็มที่ และเซลล์ต่างๆ ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยเฉพาะที่สมอง สมองที่ได้รับออกซิเจนน้อยหรือไม่เพียงพอจะมีผลความจำของคนเราเสื่อมลงได้ และช่วง 4.00 – 5.00 น เป็นช่วงที่อุณหภูมิของร่างกายลดลงต่ำสุด ร่างกายควรได้รับความอบอุ่น หลีกเลี่ยงสภาวะอากาศเย็น ช่วงนี้จึงเหมาะต่อการตื่นนอนเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น สำหรับคนที่ระบบหายใจหรือปอดมีปัญหา หายใจติดขัด ไอ จาม มีน้ำมูก โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบต้องระวังสุขภาพ เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่อาการกำเริบได้ง่าย
เวลา 5.00 – 7.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ เพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย และมีการหลั่ง cortisol เพื่อช่วยให้ร่างกายกระปรี่กระเปร่า ช่วงนี้จึงควรดื่มน้ำเพื่อกระตุ้นระบบขับถ่าย และตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไปจนถึงช่วงหัวค่ำ ความดันเลือดในร่างกายจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น สำหรับคนที่มีสุขภาพอ่อนแอ จะมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก หายใจติดขัด โดยเฉพาะคนที่เป็นโรค หืดควรระวังอาการกำเริบ
เวลา 7.00 – 9.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงาน ดังนั้นจึงควรรับ ประทานอาหารมื้อเช้า สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไมเกรน ภูมิแพ้ ไขข้ออักเสบรูมาทอยด์ช่วงเวลานี้ควรระวังอาการกำเริบได้
เวลา 9.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน โดยม้ามทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย กำจัดเม็ดเลือดแดงที่เสื่อมสภาพ ส่วนตับอ่อนจะผลิตเอนไซม์มาช่วยย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ร่างกายช่วงนี้จะมีความตื่นตัวมาก จึงเป็นช่วงที่เหมาะต่อการ ทำงาน/ทำ กิจกรรม
เวลา 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ช่วงนี้ระดับความดันเลือดในร่างกายยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดัง นั้นคนที่หัวใจผิดปกติ ช่วงนี้จะมีเหงื่อออกมากและรู้สึกร้อน อบอ้าว
เวลา 13.00 – 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหาร หากมื้อกลางวันไม่รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ช่วงนี้จะรู้สึกหิวและทรมาน
เวลา 15.00 – 17.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะ ปัสสาวะ ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำกรองจากไต โดยช่วง 17.00 น. เป็นช่วงที่หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรง จึงเหมาะต่อการออกกำลังกาย
เวลา 17.00 – 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต เพื่อกรองของเสียออกจากเลือดและ รักษาสมดุลในร่างกาย ช่วง 18.30 น. ระดับความดันเลือดจะเพิ่มขึ้นสูงสุด และ ช่วงนี้จึงควรดื่มน้ำสะอาด(ไม่ควรดื่มน้ำเย็น) และไม่ควรนอนหลับในช่วงนี้ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน
เวลา 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของหัวใจ และเป็นช่วงของระบบหมุนเวียนโลหิต โดยช่วง 19.00 น. อุณหภูมิในร่างกายจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ผู้ป่วยเป็นโรคผิวหนัง ช่วงนี้ควรระวังอาการกำเริบ
เวลา 21.00 – 23.00 น. เป็นช่วง เวลาของระบบทั้ง 3 (triple heater) ได้แก่ ระบบหายใจส่ง ผลต่อร่างกายช่วงบน(หัวใจ-ปอด) ระบบย่อยอาหารมีผลต่อช่วงกลางลำตัว(กระเพาะ อาหาร ม้าม ตับ) และระบบขับถ่ายมีผลต่อร่างกายช่วงล่าง(ไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก) เป็นช่วงที่ร่างกายปรับสมดุลความร้อนและเป็นช่วงที่อุณหภูมิในร่างกายจะ ค่อยๆ ลดลง การขับถ่ายอุจจาระจะหยุดพักชั่วคราว ร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ควร นอนหลับพักผ่อน
เวลา 23.00 – 1.00 น. เป็นช่วง เวลาของถุงน้ำดี เพื่อเก็บน้ำดีที่ได้จากตับและส่งน้ำดีมาช่วยย่อยไขมันที่ลำไส้เล็ก ถุง น้ำดีและตับ จึงเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันอย่างมาก
เวลา 1.00 – 3.00 น. ช่วงเวลาของตับ เพื่อกำจัดสารพิษในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยนำมาสังเคราะห์และเก็บสะสมในรูปไกลโคเจน และสร้างน้ำดีมาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ช่วงนี้ควรเป็น ช่วงที่หลับสนิทเพื่อ ให้เลือดไหลเวียนมาที่ตับได้ดี เนื่องจากเวลา 2.00 น ร่างกายจะหลั่งเมลาโทนินได้สูงสุด การนอนไม่หลับ เครียด ได้รับสารพิษ หรือรับประทานอาหารหวานจัด จะส่งปัญหาถึงตับ สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ ช่วงนี้อาจทำให้อาการกำเริบและหัวใจล้มเหลวได้
ทีนี้ลองพิจารณาพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเราสิว่า สอดคล้องกับตารางเวลาของนาฬิกาชีวิตหรือไม่? เพราะโรคบางโรค อาจมีสาเหตุมาจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา

ref: http://pinpint.wordpress.com/2010/04/21/hello-world/
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
Biological Clock ตารางนาฬิกาชีวิต
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
DeeZan ชุมชนคนรักดี(ซ่าน) :: ความรู้ต่างๆ วรรณกรรม บทความ นวนิยาย นิยาย กลอนเพราะ และอื่นๆ :: อาหาร เคล็ดลับกับการดูแลสุขภาพ การท่องเที่ยว ตะลอน..ทัวร์ Travel-
ไปที่: