DeeZan ชุมชนคนรักดี(ซ่าน)
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


แบ่งปัน สิ่งดีๆ สาระ ความรู้ สารพัน บันเทิง (ปี 8)
 
บ้านGalleryLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สายศิลป์-ภาษา

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
nu_kun0014
Serotonin
Serotonin
nu_kun0014



ความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สายศิลป์-ภาษา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สายศิลป์-ภาษา   ความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สายศิลป์-ภาษา Icon_minitime18/10/2009, 16:20

เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายศิลป์-ภาษา

เนื้อหา
ความเป็นมา
- การที่บุคคลใดจะเรียนรู้สิ่งใดให้ได้ผลดีก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจและมีความถนัด แต่ในทางกลับกันถ้าเรียนในสิ่งที่ตนขาดความสนใจและไม่มีความถนัดแล้ว ย่อมเป็นการยากที่จะประสบความสำเร็จ (ไพศาล หวังพานิช 2526, 117) ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญส่วนมาก มีความเห็นว่าสติปัญญาของคนเรานั้นได้รับอิทธิพลมาจากกรรมพันธุ์ 80% และอีก 20% มาจากการอบรมสั่งสอนและเรียนรู้ขึ้นในภายหลัง แต่เราจะมองข้าม 20% นี้ไม่ได้เด็ดขาด เพราะถ้าหากได้รับการอบรมสั่งสอนและเรียนรู้อย่างถูกต้องแล้วก็จะสามารถทำให้สมองส่วนที่ได้รับจากกรรมพันธุ์นั้นแสดงออกมาอย่างเต็มที่ (ซุนเทียนหลุน 2533, 10-11) ดังนั้น ถ้าให้ครูหรือผู้ปกครองได้ทราบถึงระดับปัญญาของนักเรียนแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจในตัวนักเรียนมากขึ้น และสามารถจัดประสบการณ์ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กได้เรียนตามความสามารถและสติปัญญาของตน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาประเทศต่อไป (ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริฐ 2522, 2) ซึ่งสอดคล้องกับ สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม (2515, 335-336) ที่ได้กล่าวไว้ว่า การได้รู้จักความถนัดของนักเรียนแต่ละคนจะช่วยให้สามารถแนะแนวนักเรียนในด้านการเรียนและอาชีพได้เป็นอย่างดี
การทดสอบความถนัดของนักเรียนก่อนเลือกวิชาเรียน หรือก่อนเข้าเรียนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ทราบว่านักเรียนคนใดมีความสามารถที่จะเรียนวิชาใดได้สำเร็จบ้าง และเหมาะสมกับตนเพียงใด หรือตนควรปรับปรุงตัวเองให้พ้อมอย่างไร การเรียนภาษาต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน ผู้เรียนจะต้องมีความถนัดเฉพาะวิชา ซึ่งการจะทราบว่าความถนัดด้านใดที่ส่งเสริมการเรียนภาษาต่างประเทศนั้น จะต้องศึกษาตัวพยากรณ์ที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์สทางการเรียนวิชาภาษาต่างประเทศ โดยใช้แบบทดสอบความถนัดด้านต่าง ๆ ในการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกแบบทดสอบความถนัด 3 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านเหตุผลและด้านความจำ ซึ่งความถนัดทั้ง 3 ด้านนี้เป็นความถนัดพื้นฐาน ที่มีผลต่อการเรียนทางวิชาการทุกประเภท

แนวคิดทฤษฎี
1. ความหมายของความถนัด
2. ความหมายของความถนัดทางการเรียน
3. ประโยชน์ของการวัดความถนัด
4. ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญาและความถนัดของมนุษย์
5. ลักษณะของวิชาภาษาอังกฤษ

วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษา อังกฤษ
2. เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย

สมมุติฐานการวิจัย
-

ระเบียบวิธีวิจัย
- การวิจัยเชิงบรรยาย
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนศิลป์ภาษา ซึ่งประกอบด้วย แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2542 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 14 โรงเรียนซึ่งเปิดสอนแผนการเรียนดังกล่าว (จากจำนวนโรงเรียนทั้งหมด 22 โรงเรียน) จำนวนนักเรียนทั้งหมด 1499 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนศิลป์ภาษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2542 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 4 โรงเรียน จำนวน 406 คน ตามขั้นตอนการสุ่มดังนี้
ขั้นที่ 1 หาขนาดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ด้วยความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบจากตาราง Yamane พบว่า จะต้องใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 316 คน
ขั้นที่ 2 กำหนดหมายเลขให้กับโรงเรียนจำนวน 14 โรงเรียน
ขั้นที่ 3 สุ่มโรงเรียนมา จำนวน 4 โรงเรียน โดยให้นักเรียนชั้น ม.4 – ม.6 ในโรงเรียนที่สุ่มได้ทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ผลการสุ่มปรากฏว่าได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 406 คน

ตัวแปร
-

นิยามศัพท์
- ความถนัดทางการเรียน หมายถึง ขีดระดับสูงสุดของการกระทำที่มีอยู่ในตัวของบุคคลที่ได้จากการเรียนรู้ การฝึก และประสบการณ์ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ความสามารถด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ความถนัดด้านภาษา หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจการอ่านข้อความที่กำหนดให้ ซึ่งต้อง อาศัยการแปลความ ตีความ ขยายความ และวิเคราะห์ข้อความ มาพิจารณาตัดสิน ความถนัดด้านนี้วัดด้วยแบบทดสอบหาคำตรงข้าม แบบทดสอบหาคำศัพท์สัมพันธ์และแบบทดสอบความเข้าใจภาษา
- แบบทดสอบหาคำตรงข้าม คือ แบบทดสอบที่ให้นักเรียนหาคำที่มีความหมายตรงข้ามกับคำ ที่กำหนดให้ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
- แบบทดสอบหาคำศัพท์สัมพันธ์ คือ แบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถในการหาความเกี่ยว ข้องกับคำที่กำหนดให้
- แบบทดสอบความเข้าใจภาษา คือ แบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถในการจับใจความของ ข้อความ บทสนทนา โคลง กลอน คำคม ฯลฯ ที่กำหนดให้

2. ความถนัดด้านเหตุผล หมายถึง ความสามารถในการคิดพิจารณาหาความสัมพันธ์ของสิ่งของหรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าอะไรเป็นเหตุที่ทำให้สิ่งเหล่านี้ หรือเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้นได้หรือถ้ามีเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้นสามรถสรุปได้ว่าผลควรจะเป็นอย่างไร ความถนัดด้านนี้วัดด้วยแบบทดสอบไม่เข้าพวกและแบบทดสอบอุปมาอุปไมย
- แบบทดสอบไม่เข้าพวก คือ แบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถในการคิดหาเกณฑ์ที่เหมาะสม ที่เป็นเหตุให้สิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมเป็นพวกอยู่ใต้เกณฑ์นั้นได้ และสามารถหาสิ่งที่ไม่เข้าพวกหรือไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ออกมาได้
- แบบทดสอบอุปมาอุปไมย คือ แบบทดสอบที่วัดความสามารถในการเปรียบเทียบหรือหา ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง แล้วนำความสัมพันธ์นั้นมาประยุกต์ใช้กับความสัมพันธ์นั้น หรือนำมาประยุกต์ใช้กับความสัมพันธ์อันอื่น ๆ ได้

3. ความถนัดด้านความจำ หมายถึง ความสามารถในการเก็บรักษาเรื่องราวรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้ พบเห็น และสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างถูกต้อง ความถนัดด้านนี้วัดด้วยแบบทดสอบการจำเรื่องราว

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
หมายถึง คะแนนจากแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาอังกฤษ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ซึ่งดูได้จากผลการสอบปลายภาคของนักเรียนจากแผนกทะเบียนของโรงเรียนที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบทดสอบความถนัดทางการเรียนที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่
1. แบบทดสอบหาคำตรงข้าม เป็นแบบทดสอบปรนัยจำนวน 20 ข้อ ให้เวลา 10 นาที มีค่าความเชื่อ มั่นเท่ากับ 0.75
2. แบบทดสอบหาศัพท์สัมพันธ์ เป็นแบบทดสอบปรนัยจำนวน 20 ข้อ ให้เวลา 10 นาที
3. แบบทดสอบความเข้าใจภาษา เป็นแบบทดสอบปรนัยจำนวน 12 ข้อ ให้เวลา 10 นาที มีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.81
4. แบบทดสอบไม่เข้าพวก เป็นแบบทดสอบปรนัยจำนวน 20 ข้อ ให้เวลา 10 นาที มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86
5. แบบทดสอบอุปมาอุปไมย เป็นแบบทดสอบปรนัยจำนวน 20 ข้อ ให้เวลา 10 นาที มีค่าความเชื่อ มั่นเท่ากับ 0.64
6. แบบทดสอบการจำเรื่องราว เป็นแบบทดสอบปรนัยจำนวน 20 ข้อ ให้เวลา 20 นาที มีค่าความเชื่อ มั่นเท่ากับ 0.66

วิธีการรวบรวมข้อมูล
-

การวิเคราะห์ข้อมูล
- 1. หาความสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบความถนัดทางการเรียนกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ภาษาอังกฤษ โดยใช้สูตรของ Pearson Product Moment Correlation (rxy)
2. หาสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยการใช้คะแนนจาก แบบทดสอบความถนัดทางการเรียนทั้ง 6 ด้าน เป็นตัวแปรทำนายด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบ Stepwise (สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ 2539, 253)

สรุปผลวิจัย
- 1. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 กับคะแนนผลสัมฤทธิ์ได้แก่ คะแนนจากแบบทดสอบหาคำตรงข้าม (X1) หาคำศัพท์สัมพันธ์ (X2) ความเข้าใจภาษา (X3) และการจำเรื่องราว (X6)
2. ในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษนั้น ผู้วิจัยพบว่า คะแนนจากแบบ ทดสอบทั้ง 6 ฉบับมีความสัมพันธ์กันในเชิงเส้นตรงกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.7879 ซึ่งได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
Z = 0.0695Z1 + 0.0772Z2 + 0.0328Z3 + 0.0553Z4 + 0.0948Z5 + 0.0771Z6 และสมการในรูปคะแนนดิบ
Y = 0.4423 + 1.7064X1 + 0.1628X2 + 0.1106X3 + 0.1112X4 + 0.1648X5 + 0.2017X6
3. เมื่อลดแบบทดสอบลงทีละฉบับเพื่อหาตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด พบว่า คะแนนจากแบบทดสอบหาคำ ตรงข้าม (X1) แบบทดสอบหาคำศัพท์สัมพันธ์ (X2) แบบทดสอบหาคำไม่เข้าพวก (X4) แบบทดสอบอุปมาอุปไมย (X5) และแบบทดสอบการจำเรื่องราว (X6) เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.7872 ซึ่งได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้
Z = 0.0693Z1 + 0.0800Z2 + 0.0555Z4 + 0.0943Z5 + 0.0828Z6 และสมการในรูปคะแนนดิบ
Y = 0.4466 + 1.7115X1 + 0.1688X2 + 0.1115X3 + 0.1641X4 + 0.2165X5

ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะทั่วไป
ควรใช้แบบทดสอบความสามารถทางสมองด้านภาษา เหตุผล และความจำเพื่อคัดนักเรียนเข้าแผน การเรียนศิลป์-ภาษา
ข้อเสนอแนะสำหรับทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาวิจัยในทำนองนี้กับกลุ่มตัวอย่างอื่น หรือกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
2. ควรมีการวิจัยโดยเพิ่มตัวแปรด้านอื่น เช่น เจตคติต่อวิชาภาษาต่างประเทศ เพศ ฐานะทางครอบ ครัว สภาพแวดล้อมในชุมชน และเจตคติต่อผู้สอนภาษาต่างประเทศ
ขึ้นไปข้างบน Go down
rub4love
Love So good
Love So good
rub4love



ความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สายศิลป์-ภาษา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ขอบคุณนะ   ความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สายศิลป์-ภาษา Icon_minitime19/10/2009, 01:18

มีประโยชน์มากจ้า

Smile นึกถึงสมััยเรียนอะ
Eng เรียนยังไง ก็ไม่ทันเด็กรุ่นใหม่ซะแล้ว

ตอนนี้ จะทำงาน ก็ต้องมีทักษะด้านนี้เป็นอันดับแรกเลยอะ
ฝากน้องๆ ให้ตั้งใจเรียน ขยันฝึกใช้ ท่องศัพท์ให้ตลอดนะจ๊ะ
แล้วจะมีประโยชน์กับอนาคตของตัวเองชัวร์ ไม่รู้ได้ไม่แล้วคร้าบ victory
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สายศิลป์-ภาษา
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» MultiTranse v5.1.1 โปรแกรมแปลระหว่างภาษา ได้ 20 ภาษา & เร่งสปีดเน็ต

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
DeeZan ชุมชนคนรักดี(ซ่าน) :: ความรู้ต่างๆ วรรณกรรม บทความ นวนิยาย นิยาย กลอนเพราะ และอื่นๆ :: การศึกษา แผน ใบงาน งานวิชาการ งานวิจัย ต่างๆ-
ไปที่: